หลักพิจารณาความเชื่อ

การพิจารณาไตร่ตรองความเชื่อ

พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลในข้อที่อย่าเพิ่งเชื่อ

หลักพิจารณาว่าด้วยความโลภ

พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลในข้อที่อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรัสว่า “ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ ก่อความทุกข์ เดือดร้อน วิญญูชนติเตียน ถ้าประพฤติเข้าแล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน ท่านทั้งหลายจงละทิ้งสิ่งเหล่านี้เสีย” พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าดีหรือไม่ดี แต่ให้พิจารณาดูว่าถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย

พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสต่อไปว่า “ชาวกาลามะทั้งหลายท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ความโลภซึ่งเกิดขึ้นในใจของคนเราแล้ว ความโลภเป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์ “

     ♦ ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า “ไม่เป็นเพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า”

“เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว ทำให้คนฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ประพฤติผิดในกามบ้าง และสิ่งใดที่ ไม่เป็นประโยชน์เขาจะชักนำให้ทำสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่จริง” พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อ

     ♦ ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า “จริง พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า “แต่ถ้าจริงแล้ว ท่านทั้งหลายจะสำคัญความนี้เป็นไฉน เมื่อความโลภเกิดขึ้นในใจของคนแล้ว เป็นเหตุให้เขาฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและชักชวนให้คนทำชั่ว แล้วความโลภนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “แล้วมีโทษหรือไม่มี”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “มีโทษ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า “วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ติเตียน พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เป็นไปเพื่อความสุขหรือเป็นไปเพื่อความทุกข์”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า”

พระสูตรนี้มีลักษณะของการถามตอบ คือให้ผู้ที่ถูกถามคิดเอาเองโดยไม่ได้ยัดเยียดความคิดให้ หรือ บังคับให้ตอบ

Lorem ipsum dolor sit amet...

พระพุทธองค์ได้ตรัสถามชาวกาลามะต่อไปอีกว่า

“ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจะพิจารณาเห็นความข้อนี้เป็นไฉน ความไม่โลภนั้นดีหรือไม่ดี เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์ ผู้ที่ไม่โลภย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำผู้อื่นไปในทางที่เสียหาย ดังนั้นความไม่โลภนั้นจึงเป็นกุศลหรือ อกุศล”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นกุศล พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “มีโทษหรือไม่มีโทษ”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “สรรเสริญ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า”

หลักพิจารณาว่าด้วยความโกรธ

ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสถามเกี่ยวกับความโกรธบ้างว่า “ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ เป็นไฉน คนที่ถูกความโกรธครอบงำเข้าแล้ว อาจจะฆ่าคนก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ประพฤติผิดในกามก็ได้ สิ่งใด ที่มีโทษ เขาก็ชักชวนแนะนำให้คนอื่นทำสิ่งนั้นก็ได้ ดังนั้น ความโกรธนี้ดีหรือไม่ดี”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ไม่ดี พระเจ้าข้า”

พระองค์ตรัสถามว่า “แล้วคนที่ความโกรธเข้าครอบงำแล้วนั้นความโกรธเป็นกุศลหรืออกุศล”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นอกุศล พระเจ้าข้า”

     ♦ พระองค์ตรัสถามว่า “มีโทษ หรือไม่มีโทษ”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “มีโทษ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระองค์ตรัสถามว่า “วิญญูชนติเตียนหรือไม่”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ติเตียน พระเจ้าข้า”

     ♦ พระองค์ตรัสถามว่า “แล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์หรือความสุข”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า”

ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามถึงความหลงต่อไปว่า “คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ความหลง เป็นกุศลหรืออกุศล”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า  “เป็นอกุศล พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ทำดีหรือทำชั่ว”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ทำชั่ว พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “วิญญูชนติเตียนหรือไม่”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ติเตียน พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า”แล้วเขาชักนำคนอื่นไปในทางดีหรือทางชั่ว”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ทางชั่ว พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อน ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจงอย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังคำพูดสืบๆ กันมา” จนกระทั่งถึงข้อสุดท้ายว่า “อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็นครูของเรา” ซึ่งเป็นการตรัสย้ำครั้งที่สองในเรื่องของการเชื่อ

ดังนั้นก็เกิดคำถามว่า ถ้าเราไม่เชื่อดังเหตุผลประการต่าง ๆ นี้แล้ว เราจะเชื่อใครได้

คำตอบก็คือให้เชื่อตัวเอง โดยการพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ว่าสิ่งที่เขาพูดกันนั้นดีหรือไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

หลักพิจารณาว่าด้วยความหลง

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามต่อไปถึงความไม่โกรธ ความไม่หลง ในทำนองเดียวกันอีกว่า “คนที่ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำคนอื่นไปในทางที่เสีย ชักนำคนอื่นไป ในทางที่ดี ก็ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นกุศล พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “มีโทษหรือไม่มีโทษ”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “สรรเสริญ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าจึงได้สรุปต่อไปว่า “ชาวกาลามะทั้งหลายเพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูด้วย ตนเอง ท่านอย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเชื่อโดยพูดสืบๆ กันมา จนถึงข้อสุดท้ายว่า อย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็น ครูของเรา”

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาดูว่า “สิ่งเหล่านี้ดีหรือไม่ดี ถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย ถ้าดีก็ทำตาม พระองค์ ไม่ได้บังคับให้เชื่อแต่ให้พิจารณาดูเอาเอง เหมือนคนที่ขายอาหาร หรือขายของโดยให้ผู้ซื้อได้เลือกซื้อหรือ พิจารณาเอาเอง แล้วก็ถามเรื่องความเห็นว่าดีหรือไม่ดี ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง”

ข้อความที่กล่าวย้ำเช่นนี้ในกาลามสูตรมีถึง 4 ครั้ง เฉพาะ 10 ข้อนี้ และในที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย อริยสาวกในศาสนานี้ มีเมตตาจิต ไม่โกรธ ไม่พยาบาทใคร แผ่เมตตา ไปทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องต่ำ เบื้องสูง เบื้องขวาง ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีภัย การแผ่เมตตา อย่างนี้มีโทษหรือไม่มีโทษ”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เป็นกุศลหรืออกุศล”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นกุศล พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “สรรเสริญ พระเจ้าข้า”

     ♦ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์”

     ♦ ชาวกาลามะทูลตอบว่า “เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลเรื่องพรหมวิหาร 4

พระพุทธเจ้าตรัสเช่นเดียวกันถึงเรื่อง กรุณา มุทิตา และอุเบกขา หรือพรหมวิหารทั้ง 4 ที่แผ่ไปยัง คนอื่น สัตว์อื่นและตรัสถามว่า เมื่อประกอบด้วยความไม่มีเวรเช่นนี้ มีความไม่เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตใจหมดจดอย่างนี้ ก็ย่อมจะได้ความอุ่นใจ 4 ประการคือ

  1. ถ้าหากว่าชาติหน้ามีจริง บาปบุญที่ทำไว้มีจริง ก็เมื่อเราทำแต่ดี ไม่ทำชั่ว เราจะชื่นใจว่าเราจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่นอน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่หนึ่ง
  2. ถ้าหากว่าชาติหน้าไม่มีจริงบาปบุญที่คนทำไว้ไม่มีจริงก็เมื่อเราไม่ทำชั่ว ทำแต่ดีชาตินี้เราก็สุข แม้ชาติหน้าจะไม่มีก็ตามนี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สอง
  3. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำไว้ ชื่อว่าเป็นอันทำ คือได้รับผลของบาป ก็เมื่อเราไม่ทำบาปแล้ว เราจะได้ รับผลของบาปที่ไหน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สาม
  4. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำแล้วไม่ได้เป็นบาปอันใดเลยหรือไม่เป็นอันทำ ก็เมื่อเราไม่ได้ทำบาป เราก็ พิจารณาตนว่าบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน คือ ส่วนที่เราไม่ได้ทำชั่ว และในส่วนที่เราทำดี เราก็มีความสุขในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ได้ทำชั่ว นรกสวรรค์หรือบาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็ได้ดีทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่คนที่ทำชั่วนรกสวรรค์แลบาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็เดือดร้อนทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าหากว่าสวรรค์มีจริง เขาก็ไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ถ้านรกมีจริง เขาก็ต้องลงนรก ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีจริง เราก็ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะเราไม่ได้ทำชั่วในปัจจุบัน และเราก็มีความสุขในปัจจุบัน เพราะเราทำดี การให้พิจารณาอย่างนี้ เป็นการพิจารณา ที่สร้างเหตุสร้างผลขึ้น

ท่านทั้งหลายจงพิจารณาข้อความนี้ดูว่า ในกาลามสูตรนี้ถ้าหากคณาจารย์อื่นๆ มาพบชาวกาละมะเข้า อาจจะพูดเหมือนบรรดาอาจารย์อื่นๆ ที่เคยผ่านมา คือ พูดติเตียนศาสนาอื่นแล้วยกย่องศาสนาของตนเอง แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงกระทำเช่นนั้นคือ ไม่โจมตีศาสนาอื่นเลยแม้แต่สักคำเดียว พระองค์เพียงแต่บอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อถ้าใครพูดชักนำมา ทรงเตือนว่าอย่าเพิ่งเชื่อและให้พิจารณาด้วยตนเองเท่านั้น เมื่อได้พิจารณาด้วยตนเองแล้วเห็นว่าเป็นกุศล ก็ให้ทำตาม แต่ถ้าเป็นอกุศลก็ให้ละเสีย

ยกตัวอย่างเช่น โลภ โกรธ หลง นั้นเป็นอกุศล ไม่ดี มีโทษ วิญญูชนติเตียน เป็นไปเพื่อทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสให้ละเสีย แต่ถ้าหากเห็นว่า ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้นเป็นกุศลไม่มีโทษ วิญญูชน สรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุข พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บำเพ็ญ โดยให้ชาวกาลามะพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จากการที่พระองค์ทรงตั้งคำถามให้ชาวกาลามะคิดพิจารณาเอาเอง โดยไม่ให้งมงายคือพระองค์มิได้ทรงบอกว่าท่านต้องเชื่อหรือบอกว่าถ้าท่านไม่เชื่อท่านต้องตกนรกหมกไหม้หรือว่าท่านต้องเชื่อแล้วท่านจะได้ขึ้นสวรรค์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้แต่ตรัสบอกให้พิจารณาเอาเอง

ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าเราทำดีโดยการมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาแล้ว เราจะมี ความอุ่นใจถึง4 อย่าง ซึ่งคนทำชั่วนั้นจะไม่มีความอุ่นใจดังกล่าวเลย

การพิจารณาอย่างนี้เป็นข้อความสำคัญในกาลามสูตร แท้ที่จริง ยังมีข้อความอื่นอีกในพระสูตรนี้ แต่เป็นข้อปลีกย่อย จึงไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้

ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ นักคิดชาวตะวันตก ได้สรรเสริญพระพุทธศาสนาในแง่ของการมีเหตุผลไว้มาก เพราะเป็นคำสอนอันมีเหตุผลและสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์

ดังนั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อแต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมาแม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณาดูเสียก่อนถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อหรือไม่เพียงไร

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักความเชื่อ กาลามสูตร

ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เพราะจินตนาการ สำคัญกว่าความรู้
แต่สิ่งที่เหนือกว่าความรู้สู่ความมั่งคั่งคือ "ทักษะ"
และทักษะต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง

นักเรียนเข้าเรียน คลิกที่นี่ ลงทะเบียนสร้างธุรกิจออนไลน์ คลิกที่นี่

Leave a Reply