หลักพิจารณาความเชื่อ

หลักพิจารณาความเชื่อ กาลามสูตร

ความเป็นมา

หลักความเชื่อนี้ตรงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์หลายประการ ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย และมีความเป็นอมตะ คงจะดีหากหลักความเชื่อนี้ถูกถ่ายทอดให้เด็กๆ ได้ตระหนักรู้เพื่อเป็นแนวทางสู่การใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เพราะผู้เขียนเองก็ได้มาศึกษาตอนอายุสามสิบกว่าปีแล้ว ช่างเป็นเวลาที่ยาวนาน (ครึ่งชีวิต) ที่เราเองก็หลงทางในวังวน

คำเชื่อนั้นสำคัญไฉน

ความเชื่อ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Believe มีความจำเป็นอย่างมากต่อวิสัยทัศน์เพราะความเชื่อเป็นจุดเริ่มต้นการเป็นคน “เห็นเที่ยง” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Accurate Thinking / Critical Thinking ที่นักปราชญ์ทั้งหลายต่างยอมรับและท่านนโปเลียน ฮิลล์ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก

คำถามคือ

คุณจะเชื่อว่า “ฉันบินได้” ก่อนหรือ “บินให้ได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อ”
เมื่อทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเกิดขึ้นจากความเชื่อ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะประสบความสำเร็จคุณต้องเชื่อในทุกๆ ความเป็นไปได้เพราะไม่อย่างนั้นโลกใบนี้คงไม่มี “เครื่องบิน”

แล้วเราควรเชื่ออะไรได้บ้าง

ให้พิจารณาตรึกตรองว่าความเชื่อนั้นเบี่ยงเบนให้เป็นไปสู่ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่จะส่งผลให้เกิดอกุศล ไม่ดี มีโทษ วิญญูชนติเตียน เป็นไปเพื่อทุกข์ หรือไม่ ถ้าใช่ก็ให้ละเสีย

แต่ถ้าความเชื่อนั้นเป็นไปในทาง ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นกุศลไม่มีโทษ วิญญูชน สรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุข พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บำเพ็ญ

จงเชื่อในจิตใต้สำนึกของคุณเอง แห่งวิถีที่ไม่เป็นไปเพื่อสนองตอบกับความโลภ โกรธ หลง

Presentation Slogan

ให้ดำรงอยู่และเป็นไปเพื่อความปิติสุขต่อตัวเองและส่วนรวม เป็นกุศลไม่มีโทษ วิญญูชนสรรเสริญ

บทความเกี่ยวกับพระสูตร | กาลามสูตร

หลักพิจารณาความเชื่อ


กาลามสูตร
 เป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้แก่ชาว กาลามะ ซึ่งอยู่ในเกสปุตตนิคมจึงตั้งชื่อพระสูตรนี้ตามชื่อของนิคมนี้ว่า เกสปุตตสูตร แต่คนที่อยู่ในนิคม/ตำบลนี้เป็นเชื้อสายสกุลเดียวกันคือ สกุลกาลามะ จึงเรียกประชาชนเหล่านี้ว่ากาลามชนซึ่งมีโคตรอันเดียวกันคือ  กาลามโคตร จึงมักจะเรียกพระสูตรนี้ว่า   กาลามสูตร  เพราะรู้สึกว่าจะเรียกได้ง่ายกว่า

  1. อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามๆ กันมา
    แต่จงฟังไว้ก่อน มีหลายๆ ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา เช่น สมมุติว่าฝนแล้งก็ต้องแห่นางแมวแล้วฝนจะตก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ถ้าใครเคยเล่นเกมส์กระซิบจะทราบดีว่าเมื่อเรากระซิบผ่านไปหลายๆ คน สิ่งที่คนพูดคนสุดท้ายถ่ายทอดออกมาจะต้องมีข้อความบางส่วนที่ผิดเพี้ยนไป บางส่วนก็ขาดหาย บางส่วนก็ได้เพิ่มเข้ามา
  2. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดว่าเป็นของเก่า ถือสืบๆ กันมา
    บางคนบอกว่าเป็นของเก่า เป็นความเชื่อ ตั้งแต่สมัยโบราณเราควรจะเชื่อ เพราะเป็นของเก่า ถ้าไม่เชื่อ เขาก็หาว่าจะทำลายของเก่าหนำซ้ำบางคนเรียกมันว่า “อกตัญญู” เช่น ต้องเชื่อฟังพ่อแม่เพราะอาบน้ำร้อนมาก่อน ว่ายังไงก็ว่าตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตามชีวิตจะล่มจม หากพิจารณาไตร่ตรองดูดีๆ จะพบว่าบุพการีมีพระคุณต่อบุตรอยู่มาก แต่บางครอบครัวพ่อแม่ก็ใช้ชีวิตล้มเหลว คงหาครอบครัวที่พ่อแม่สอนลูกเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องอย่างชาญฉลาดได้ยาก
  3. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นข่าวเล่าลือ 
    หรือตื่นข่าว เรื่องข่าวนั้นมีมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวทันโลก ข่าวช่วงเช้า ข่าวช่วงเย็น ข่าวเขาว่า ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้าเราไปเชื่อตามข่าว แต่ข่าวที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันเป็นข่าวเชิงลบอยู่มากกว่า 80% เพราะข่าวเหล่านี้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าทั่วไป เราก็อาจจะเป็นคนโง่ได้หากรับแต่ข่าวแย่ๆ มาผนวกกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น บางคนอ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริงแน่แล้วซ้ำร้ายก็คิดว่าจะเกิดกับตัวเองแน่ๆ และบางคนก็ส่งผลร้ายตามที่คิด
  4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา 
    ถ้าใครเอาตำรามาอ้างให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะบางคนเขียนตำราขึ้นเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว ซ้ำร้ายบางคนคนก็อ้างการทำบาปว่าเป็นบทบัญญัติของศาสนาเข่นฆ่าผู้อื่นเป็นผักปลาแล้วก็โยนบาปให้แพะไป บางคนก็เชื่อว่าคนผิวขาวห้ามคบมิตรคนผิวดำ ผิวดำแดงห้ามคบคนผิวเหลือง สิ่งเหล่านี้หากพิจารณาดีๆ น่าจะเรียกได้ว่าความเชื่อเหลวไหลที่ให้โทษมากกว่า
  5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยใช้ตรรกคิดเดาเอาเอง 
    การคาดเดาบางอย่างว่าต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เช่น ตรรกที่ว่า “ที่ใดมีควัน ที่นั่นมีไฟ” ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่เสมอไปเพราะอาจจะเป็นหมอก หรือการพ่นสารเคมีบางอย่างก็ได้ บางคนก็เชื่อว่าอย่ากินของดำเพราะมีพิษ จากผลงานวิจัยพบว่างาดำหรือกระเทียมดำให้คุณค่าสารอาหารมากกว่างาขาวหรือกระเทียมปกติถึง 16 เท่า
  6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยการคิดคาดคะเนหรืออนุมานเอา 
    ตัวอย่างเช่น เราคิดว่าเราจะแซงรถคันหน้าพันถ้าเรา ขับรถเร็วกว่านี้ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอา บางทีเราคาดคะเนความเร็วไม่ถูก ก็อาจจะชนรถคันหน้าที่วิ่งสวนมา โครมเข้าไปเลยก็ได้ คงเป็นเรื่องที่โหดร้ายหากวันนี้มีการจ้างจับกังมาลงเสาเข็มสร้างบ้านโดยไม่ได้ปรึกษาวิศวกรเพราะเห็นว่าเขาผสมปูนได้
  7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกตรองเอาตามอาการที่ปรากฎตามแนวเหตุผล
    คือการเห็นอาการที่ปรากฎแล้วคิดว่าต้องใช่แน่นอน เช่น เห็นคนท้องโตก็คิดว่าเขากำลังตั้งครรภ์อยู่แน่ๆ ความเชื่อนี้เป็นกันเยอะมากและน้อยคนจะพิจารณาเชิงลึกตามกฎทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักแต่หาศึกษาให้ถ่องแท้จะมีประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์มาก
  8. อย่าเพิ่งเชื่อว่าต้องกับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
    บางอย่างที่เราเคยคิดไว้อยู่แล้ว แล้วมีคนมาพูดเสริมซึ่งตรงกับความคิดของตนพอดี ซึ่งจริงๆ ก็อาจจะไม่ใช่เสมอไป หรืออาจจะไม่มีมูลความจริงเลยก็ได้ 
  9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะที่น่าจะเป็นไปได้
    เห็นว่าคนที่เป็นคนใหญ่คนโตนั้น พูดจาควรเชื่อถือได้ เช่น เป็นถึงชั้นเจ้าหรือมีตำแหน่งสูงเราก็ควรจะเชื่อคำพูดของเขา คนเหล่านี้บางทีก็คดโกงเยอะแยะถมไป
  10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา 
    แม้แต่ครูก็ไม่ให้เชื่อ มีครูสอนเรื่องการเงินหลายคนที่ชีวิตล้มเหลวเป็นหนี้และครูที่สอนส่วนใหญ่ก็สอนจากตำรา ไม่ได้ลองฝึกมาก่อน จะสำเร็จได้ต้องเชื่อคนที่ลงมือทำแล้วปฏิบัติตามโดยใช้วิจารณญานด้วยตัวเองอย่างถี่ถ้วนเพราะเรื่องบางเรื่องเป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะตน

เราจะอนุมานต่อการพิจารณาความเชื่อได้อย่างไร

คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อชาวกาลามะ

ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เพราะจินตนาการ สำคัญกว่าความรู้
แต่สิ่งที่เหนือกว่าความรู้สู่ความมั่งคั่งคือ "ทักษะ"
และทักษะต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง

นักเรียนเข้าเรียน คลิกที่นี่ ลงทะเบียนสร้างธุรกิจออนไลน์ คลิกที่นี่

Leave a Reply