10 อย่างที่ต้องรู้ก่อนอยากมีเว็บไซต์

ในสังคมปัจจุบันที่ผู้คนให้ความสนใจกับการรับข้อมูลข่าวสารผ่านออนไลน์ หรือแม้แต่การซื้อสินค้าก็ล้วนแล้วแต่ทำการสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตกันทั้งนั้น สำหรับธุรกิจที่ไม่เร่งทำการการตลาดแบบออนไลน์ก็ต้องยอมรับความพ่ายแพ้ต่อธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มคนได้มากกว่า บทความนี้เรามี 10 อย่างที่คุณต้องรู้ก่อนการทำเว็บไซต์มาบอก ซึ่งอาจจะเป็นการทำด้วยตัวเอง ว่าจ้างบริษัทหรือจ้าง Developer ทำให้
ซึ่งหากคุณรู้ 10 อย่างนี้แล้ว คุณก็สามารถสอบถามและทำข้อตกลงก่อนลงมือทำได้ อย่างน้อยๆ หากอยู่ในสัญญาว่าจ้างได้ด้วยเลยยิ่งดี เพราะจะเป็นตัวกำหนดให้งบของคุณไม่บานปลายในอนาคต

1 กลยุทธ์ที่ดี

 

Strategy

คุณต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจของคุณคืออะไร มีวัตถุประสงค์อะไรในการจัดทำเว็บไซต์ ต้องการมีระบบแบบไหนไว้รองรับในเว็บไซต์บ้าง เช่น บางเว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อขายสินค้าจำพวก WooCommerce หรือบางเว็บสำหรับทำคอร์สออนไลน์ อย่างนี้จะเป็นตัวกำหนดในการเลือกติดตั้ง Plugins ที่เหมาะสมได้
(และไม่ทำให้ Developer ปวดหัว เพราะเมื่อไหร่ที่คุณทำเขาปวดหัวคุณจะถูกคิดค่าบริการเพิ่มมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)

2 ผ่านเข้ามาเจออะไรบ้าง

 

Customer Journey

กำหนดไปเลยว่าอยากให้คนที่เข้ามาในเว็บต้องเจออะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง ยิ่งเป็นสังคมที่อยู่ด้วยแล้วได้รับผลประโยชน์ได้ด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่ (Affiliate Program) อยากรู้ว่าเขาวางกลยุทธ์อะไรให้คุณลองเข้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณดูอย่างน้อยก็ 20 เว็บไซต์ แล้วเป้าหมายของคุณจะเยอะขึ้น แต่ชัดเจนขึ้นอย่างเหลือเชื่อ

3 แผนผังเว็บไซต์

 

Sitemaps

ผังเว็บ หรือที่เราทราบๆ กันดีว่า “เมนู” นั่นเอง ซึ่งมักจะปรากฏอยู่ในทุกๆ หน้า เพื่อให้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ประเภทค้นแล้วเจอเลย (เหมือนผังบริษัทอ่ะ ว่าใคร ทำอะไร อยู่ตำแหน่งอะไร) หลักๆ ที่เว็บต้องมีคือ หน้าหลัก บริการ เกี่ยวกับเรา ข้อกำหนดและนโยบาย เป็นต้น และที่จะขาดไม่ได้คือช่องทางการติดต่อที่ดี จำพวก แบบฟอร์มการติดต่อ ที่อยู่ เบอร์โทร หรือในปัจจุบันก็สามารถเชื่อมต่อผ่านไลน์ หรือเฟสบุ๊คได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ

4 เน้นโชว์ ขาย หรือให้ข้อมูลกันน้าาา

 

Plugins

สำหรับคนที่อยากลองทำเว็บไซต์ด้วยตัวเอง จริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากใดๆ เลย เพียงแค่คุณต้องทุ่มเทเวลาในการเสาะหาปลั๊กอินดีๆ ที่จะมาตอบโจทน์การทำงานของคุณเอง บางคนเป็นช่างภาพก็อาจจะเน้นไปทาง Grid เพื่อโชว์ภาพ หรือบางคนที่เป็นนักเขียนก็อาจจะต้องการแพทเทิร์นดีๆ สำหรับตอบสนองการสร้างคอนเทนต์ดีๆ บางคนทำเว็บขายของแน่นอนว่าต้องไปผูกบัญชีกับระบบเก็บเงินให้เรียบร้อยจ้ะ แต่สำหรับบางคนที่อยากเป็นเจ้าของ Facebook ก็ต้องเรียนรู้การจัดการระบบหลังบ้านกันดีๆ ที่แน่ๆ แอดมินลองทำเว็บท่องเที่ยวด้วยตัวเอง ก็ใช้เวลาในการหาข้อมูลและจัดการโค้ดระบบหลังบ้านกันอย่างยาวนาน ลำบากหลายส่วนเลยทีเดียว ทำไปท้อไปก็มี

5 เนื้อหา

 

Contens

บางคนสงสัยว่า เนื้อหาหรือบทความมันเกี่ยวด้วยรึ ถ้าคุณยังไม่รู้ข้อนี้แสดงว่าพลาดมากๆ เพราะบทความเป็นตัวกำหนดภาพลักษณ์ของคุณเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่กำหนดเท่ห์ๆ นะเออออ แต่แบบว่าสามารถทำโฆษณา ดึง Traffic และสามารถขายได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาได้ด้วย (นี่แหละเจ๋งสุดที่อยากจะบอกเลย)

6 การออกแบบ

 

Design

การออกแบบไม่ได้มีแค่เรื่องของการจับๆ วางๆ นะคะ แต่มันหมายรวมถึงความเหมาะสมองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างต้องสอดประสานกันอย่างกลมกลืนถึงจะเรียกได้ว่าเป็นมืออาชีพ เพราะสิ่งที่คุณจะต้องกำหนดไว้ให้เรียบร้อยเลยก็คือ สี โลโก ฟ้อนต์ รูปภาพประกอบที่จำเป็นในการจัดวางบนหน้าหลัก เพราะถ้าอันนี้สามารถเลือกให้เสร็จสรรพตั้งแต่แรก ก็เท่ากับว่าเว็บของคุณเสร็จไปแล้วกว่าครึ่ง

7 ระบบ

 

System

คำว่าระบบ มันออกจะยากไปสักนิด แต่ถ้าคุณลองนึกภาพง่ายๆ สำหรับเว็บที่คุณอยากจะเอาจริงเอาจัง และสร้างรายได้ให้คุณได้จริงๆ ต้องตระหนักเป็นเรื่องแรกๆ เลย เพราะระบบการตอบสนองไม่ดี นอกจากจะทำให้คุณเสียคะแนนในการจัดอันดับของ Google แล้ว คุณยังจะพลาดโอกาสในการจัดเก็บเงินเข้ากระเป๋าด้วย (อันนี้ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง) และยิ่งไปกว่านั้น หากคุณมีระบบสมาชิกด้วยยิ่งดีเลย เพราะคุณจะสามารถติดตามทำการตลาดได้ด้วย

8 ทดสอบระบบ

 

Bug Testing

ก่อนจะดึงคนเข้ามาใช้บริการ ให้คุณฝึกทดสอบระบบด้วยตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการใช้งานที่ผิดพลาด อาจนำมาซึ่งการสูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย บางระบบที่มันเป็นการรบกวนการใช้งานของลูกค้าก็ควรที่จะอยู่ในโหมดทางเลือกแทน 

สำหรับการใช้งานบางส่วนที่ยากต่อการเข้าถึงแต่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการใช้งานวัตถุประสงค์เว็บของคุณ เช่น การเข้าถึงเมนูการจ่ายเงิน ก็ควรเป็นช่องทางที่สะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เพราะความยุ่งยากเพียงเล็กน้อยก็นำมาซึ่งการยกเลิกคำสั่งไปอย่างน่าเสียดาย)

9 การประมวลผลและสถิติ

 

Analytics

ในเว็บไซต์ของคุณควรมีระบบการเก็บสถิติ (ยิ่งปัจจุบันมีกฎหมาย PDPA ก็ต้องมีการสร้างระบบรองรับในส่วนนี้ด้วย) ซึ่งบางทีอาจจะต้องมีการไปเป็นพันธมิตรกับ Google Console ไว้ด้วยเลยยิ่งดี เพราะมันเป็นการคอนเฟิร์มการเป็นเจ้าของ Property เว็บตัวเองไปเลยเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการทำงานและวิจัยการตลาด

10 ความสม่ำเสมอ

 

Sprit Testing

เมื่อไหร่ก็ตามที่เว็บไซต์ของคุณอยู่บนความหลงไหล คุณจะไม่ละเลยต่อการดูแลอย่างสม่ำเสมอ หากคุณดูแลเองก็ต้องหมั่นเข้ามาดูอย่างเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพราะบางระบบต้องการอับเดทข้อมูล เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีความปลอดภัยและใช้งานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ (เหมือน iPhone ที่ไม่เคยอับเดทเลยเข้าศูนย์อีกทีก็ต้องซื้อเครื่องใหม่อย่างเดียวทั้งๆ ที่อายุการใช้งานน่าจะยืนยาวกว่า) ดังนั้น บางอย่างคุณต้องเป็นคนดูแลระบบหลังบ้านเองด้วย มีอะไรที่คุณจะช่วยให้การใช้งานได้ดีขึ้นบ้าง ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ

ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เพราะจินตนาการ สำคัญกว่าความรู้
แต่สิ่งที่เหนือกว่าความรู้สู่ความมั่งคั่งคือ "ทักษะ"
และทักษะต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง

นักเรียนเข้าเรียน คลิกที่นี่ ลงทะเบียนสร้างธุรกิจออนไลน์ คลิกที่นี่

Leave a Reply